วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


Pentium 4

Pentium 4 มันคือ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่ามันเป็นสมองหลักของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว โดยทั้ง 2 รุ่นเป็นของ บริษัท Intel โดย มันเป็นเพียงชื่อรุ่นที่แบ่งหยาบๆ เท่านั้น ถ้าจะแต่งย่อยๆ อีกเราจะแบ่งตามโครงสร้างของ CPU นั่นเอง

                     สำหรับ CPU celeron กับ Pentium 4 แน่นอนครับ Pentium4 ดีกว่า แต่ก่อนอื่นเราก็มารู้กันหน่อยว่ามันดีกว่ายังไงเพราะอะไร
ก่อนอื่นมารู้จักคำว่า Cache กันก่อน
                cache มันคล้ายๆ กับหน่วยความจำที่อยู่ใกล้กับ cpu มากที่สุด ถ้ามี cache มาก มันก็จะสามารถเก็บข้อมูลได้มาก ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คือ สมมติว่า คุณจะอ่านหนังสือซักเล่มนึง โดยเราให้ cache แทนโต๊ะที่คุณนั่งอยู่ กับ Harddisk แทนที่ชั้นหนังสือ
แล้วตัวคุณเป็น CPU ถ้าคุณจะอ่านหนังสือ แบบไหนจะเร็วกว่า แบบที่หยิบจากโต๊ะ( Cache ) แน่นอนไม่ต้องลุกไปหยิบจากชั้น
ถ้า Cache มากก็เปรียบเหมือนโต๊ะคุณวางหนังสือได้มากนั่นเอง
แล้ว PENTIUM4 มันมี Cache มากกว่า Celeron อยู่เยอะมากทีเดียว
 

CPU Core 2 Duo

                E6700, E6600, E6400, E6300, E7600, E7500, E7400, E7300, E7200, E8600, E8500, E8400 CPU Dual-core มีความเร็วตั้งแต่ 1.86 – 3.33GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB FSB ตั้งแต่ 1333 - 1066MHz ไม่มีHyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 45นาโนเมตร บน LGA775
                Core2Duo สร้างขึ้นจาก Intel® Core™ microarchitecture อันเป็นนวัตกรรมใหม่ เดสก์ท็อปหน่วยประมวลผลกลาง Intel® Core™2 Duo มอบประสิทธิภาพระดับ Dual-core และสมรระนะในการใช้พลังงานที่โดดเด่น ดีไซน์ที่เปลี่ยนไปในหน่วยประมวลผลกลาง Intel® Core™2 Duo ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยังเพิ่มสมรรถนะด้านการใช้พลังงานโดยการทำงานที่ความถี่ต่ำซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าในการรัน ด้วยหน่วยประมวลผลกลางที่มีสมรรถนะด้านการใช้พลังงานที่เหนือกว่านี้ทำให้สามารถสร้างเดสก์ท็อปพีซีที่มีขนาดเล็กกว่า, มีความสามารถสูงกว่า และเงียบกว่าเพื่อช่วยสงวนพลังงานที่มีค่ายิ่งไว้
                  เวอร์ชั่นล่าสุดนี้สร้างขึ้นภายในเทคโนโลยีการผลิต 45nm ของ Intel ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ก้าวไปสู่อีกระดับ เทคโนโลยีใหม่นี้ใช้ทรานซิสเตอร์ Hafnium-infused Hi-k ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางโดยการเพิ่มความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์เป็นสองเท่า ช่วยเพิ่มสมรรถนะและความเร็วเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า และช่วยเพิ่มขนาดแคชให้สูงขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เทคโนโลยีการผลิต 45nm ของ Intel ช่วยให้หน่วยประมวลผลกลาง Intel® Core™2 Duo มอบประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น หน่วยประมวลผลกลาง Dual-core นี้แสดงถึงความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องของ Intel และความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการประมวลผลแบบ Multi-core
                     การทำงานของ cpu core 2 duo จากค่าย Intel เป็น cpu ที่ทำงานด้วย 2 หัว ไปพร้อม ๆกัน ซึ่งถือเป็นยุคแห่งการก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ปกติเราจะรู้จักแต่ cpu ที่ทำงานด้วยชิบประมวลผลตัวเดียว แต่ปัจจุบันแทบจะไม่มีใครใช้แล้วสำหรับ cpu พวก Celeron หรือ Pentium เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำ ประสิทธิภาพของ core 2 duo มีดังนี้
-ทำงานด้วยระบบ Multi-Core Processor ใช้ยี 2 แกน ช่วยในการประมวลผล
-มีขนาดของ Cache L2 สูงถึง 6 MB ทำให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงขึ้น
-Core 2 duo ใช้เทคโนโลยีการผลิต 45 nm ซึ่งจะช่วยให้การระบายความร้อนภายในตัว cpu ได้ดีกว่าแบบเก่ามาก
-สามารถรองรับระบบ FSB(Front Side Bus) สูงสุดถึง 1333 MHz
 
CPU Quad Core
1.ความร้อน
การใช้งานจริงมันฟ้องเลยว่า Qualcomm Snap Dragon S4 และ S4 Pro มีการจัดการเรื่องความร้อนได้ดีกว่า Exynos และ nVidia ข้อนี้จึงกลายเป็น 1.SnapDragon S4 Pro 2.Exynos 4 Quad 3.nVidia
2.ความเร็ว
SnapDragon S4 Pro อีกเช่นเคย ด้วยความเร็วที่แตกต่างค่อนข้างมากเลยทีเดียว ดูจากอันดับ 2 อย่าง Exynos จาก Samsung เรียกว่าทิ้งห่างมากพอสมควรหากเปรียบเทียบกับที่ Exynos ทิ้งห่าง nVidia ที่บอกได้เลยว่าไกล้เคียงกันมาก จึงสรุปได้ว่า 1.SnapDragon S4 Pro 2.Exynos 4 Quad 3.nVidia
3.ความได้เปรียบด้าน App
ในข้อนี้อ้างอิงได้ดีเลยว่า Android ตัวจริงต้องรันแอปได้เยอะไม่แพ้กับ iPhone ซึ่งข้อนี้ผู้ชนะก็คือ Exynos ด้วยเหตุผลง่ายๆของผู้พัฒนาแอปที่กล่าวไว้ว่า Samsung คือ Android และ Samsung คือเจ้าตลาดแอนดรอย จึงไม่แปลกหากว่า Exynos จะสามารถรันได้แทบทุกเกม ต่อมาคือ SnapDragon ที่รันแอปได้เกือบทั้งหมดเช่นกัน แต่ด้วยความที่ Qualcomm มักจะออก CPU รุ่นใหม่ๆมาช้ากว่าเพื่อนจึงอาจจะทำให้ผู้พัฒนาปรับเปลี่ยนแอปให้รองรับได้ช้าตามไปด้วยครับ และสุดท้ายเลยก็คือ nVidi
4.ความได้เปรียบด้าน Game
ปัจจุบันเกมนั้นมีจำนวนเยอะมาก และหลายๆเกมที่มีกราฟฟิคเทพที่กระโดดมาจากฝั่ง Console ก็มีหลายเกม อย่างล่าสุดเกมที่เป็นที่นิยมใน PS Vita ในปัจจุบันอย่าง Sumioni Demon Arts เกม RPG ที่มีกลิ่นอายของซามูไรญี่ปุ่น หรือเกมที่ใช้ระบบ Unreal Engine ข้อนี้ผู้ชนะจึงกลายเป็น SnapDragon S4 Pro หลายๆคนถามว่า เอ้า ทำไมไม่เป็น nVidia ละ ก็เจ้า nVidia เค้าไม่ได้เล่นเกมทุกเกม หลายๆค่ายเกมไม่ได้พอร์ตเกมจากค่ายลง หรือลง แต่ช้า ส่วน Exynos จริงอยู่ที่รองรับได้เยอะแต่ก็เล่นได้ไม่ลื่นไหลเท่านั่นเอง ข้อนี้จึงกลายเป็น 1.SnapDragon S4 Pro 2.nVidia Tegra 3(ได้เปรียบตรงมี THD ที่รองรับเฉพาะ nVidia เท่านั้น) 3.Exynos 4 Quad
5.Hard Core Game ของแท้
 ข้อนี้คงต้องยกให้ nVidia เค้าไปละครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่ามีการปรับกราฟฟิคของตัวเกมให้มีความสวยงามขึ้น ปรับรายละเอียดตัวเกมให้สมจริง และลุกเล่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้เราจะได้อารมณ์จากการเล่นเกมจากสมาร์ทโฟนที่ใช้ CPU ของ nVidia มากกว่านั่นเองครับ สรุปง่ายๆคือ 1.nVidia Tegra 3 2.SnapDragon S4 Pro 3.Exynos 4 Quad
6.กินแบต
มาถึงข้อสุดท้ายคือเรื่องแบต ถึงแม้ผมจะเคยบอกไปว่า SnapDragon S4 Pro จะกินแบตน้อยที่สุด แต่ก็คงจะสู้ Exynos ไม่ได้ เพราะอย่างที่บอกไปว่า Exynos ใช้เทคโนโลยีปิดคอร์หรือเปิดใช้คอร์ให้เหมาะสมกับแอปที่รันเพราะฉะนั้นบางครั้งการทำงานไม่ครบทั้ง 4 คอร์จึงทำให้มันไม่กินแบตตามไปด้วย แต่หากไม่นับในข้อนี้เปรียบจากการเปิดสแตนบายเพีงอย่างเดียว Exynos ก็เป็นผู้ชนะไปอีกเช่นเดียวกัน ส่วน nVidia ไม่ต้องพูดถึง บางครั้งไม่ถึงครึ่งวันด้วยซ้ำไป แค่เปิดสแตนบาย 1 วันยังอยู่ลำบากเลย ข้อนี้จัดไปเลย Exynos 4 Quad ที่ 1 และตามมาด้วย SnapDragon S4 Pro ปิดท้ายด้วย nVidia
สำหรับ Core i3 นั้นทาง Intel ตั้งใจวางไว้สำหรับตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดโดยเฉพาะ ซึ่งซีพียูตระกูลนี้นั้นเป็นซีพียูจาก Intel ชุดที่สามที่มีการรวมชุดควบคุมหน่วยความจำมาไว้ในตัวซีพียูเลย (Core i7 และ i5 เป็นชุดแรกและชุดที่สองตามลำดับ) และก็เช่นเดียวกับซีพียูสองชุดก่อนหน้าสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้บน Core i3 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก Core 2 Duo และ Core 2 Quad ด้วยเหตุนี้จึงยังคงใช้บนซ็อกเก็ต LGA1156 และ สำหรับเดสก์ท้อป และ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊กเหมือนเดิม
CPU Core i3
     โครงสร้าง และคุณสมบัติของ Core i3 นั้นหลักๆ ยังคงเหมือนกับ Core i7 และ i5 โดยมีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำไปอยู่ภายในซีพียูเลย ผลที่ได้คือตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนแต่ก่อน) ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถใช้หน่วยความจำประเภทใดหรือปริมาณเท่าไร โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำดังกล่าวนั้นรองรับแรม DDR3 ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6v แบบ Dual-Channel ที่ความเร็ว 1066 และ 1333MHz สำหรับเดสก์ท้อป สำหรับโมเดลบนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับความเร็วแรมที่ 800 และ 1066MHz
     นอกจากนั้นภายในตัวซีพียูก็ยังมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อที่ความเร็ว 16x และด้วยเหตนี้นั่นเองที่ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้ DMI (Digital Media Interface) ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับซีพียูในการติดต่อสื่อสารกับตัวชิพเซ็ต
          Core i3 ทั้งหมดนั้นจะใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรในการผลิตและมีกราฟฟิกชิพติดตั้งมาให้แล้วซึ่งควบคุมโดยตัวซีพียูเอง และสำหรับ base clock ของ Core i3 นั้นยังคงอยู่ที่ 133MHz เช่นเดิม แต่สิ่งที่เป็นจุดด้อยของซีพียู Core i3 ทุกรุ่นนั่นคือการที่ไม่มีเทคโนโลยี Turbo Boost มาให้ด้วยครับ
CPU Core i5
Core i5 นั้นเป็นซีพียูชุดที่สองของ Intel ที่มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Core i7 เป็นตัวแรก) และยีงคงมีการใช้สถาปัตยกรรม Nehalem อยู่เช่นเดิม ซีพียู Core i5 นั้นจะมาสองรูปแบบด้วยกันคือโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 สำหรับเดสก์ท้อปและ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก
     คุณสมบัติหลักๆ ของ Core i5 นั้นยังคงมีพื้นฐานมาจาก Core i7 อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำมาให้ในตัวซีพียู จึงทำให้ตัวซีพียูเองจะเป็นองค์ประกอบหลักในการทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณสูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใช้ได้ ซึ่งในที่นี้คือหน่วยความจำหรือแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ที่ความเร็ว 1066 และ 1333 MHz สำหรับเดสก์ท้อป และ 800 กับ 1066 MHz สำหรับโน้ตบุ๊ก
     นอกจากนั้น Core i5 ก็ยังคงมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่ภายในตัวซีพียูเองอีกด้วยเช่นเดียวกับ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้งานกราฟิกการ์ดที่อัตราการส่งข้อมูล x16 เมื่อมีการ์ดแค่ใบเดียว และ x8/x8 เมื่อใช้งานกราฟฟิกการ์ด 2 ใบ และเนื่องด้วยการที่มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 ภายในตัวซีพียูมาแล้วนั่นเอง ทาง Intel ก็เลยใช้บัส DMI (Digital Media Interface) ซึ่งมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 2GB/s เพื่อเชื่อมต่อการทำงานของซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต
           แต่สิ่งที่พิเศษกว่าก็คือซีพียูในสาย Core i5 นั้นยังมีรุ่นย่อยที่ได้รับการผลิตโดยใช้กระบวนการ 32 นาโนเมตรอีกด้วย (รุ่นที่เป็น Core i5-6xx) ซึ่งมีกราฟฟิกชิพผูกติดมากับ die ของซีพียูเลย และกราฟฟิกชิพตัวนี้นั้นจะได้รับการควบคุมโดยตัวซีพียูเอง ไม่ใช่ชิพเซ็ตเหมือนกับกราฟฟิกชิพออนบอร์ดรุ่นที่แล้วๆ มา และที่สำคัญก็คือ Core i5-6xx นี้นั้นจะมีแกนซีพียูแท้ๆ เพียง 2 แกนเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ 4 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 แกนเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี Hyper Threading นั่นเอง
     คุณสมบัติที่เหลือๆ นั้นส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกับ Core i7 ไม่ว่าจะเป็นการมี base clock ที่ 133MHz มีเทคโนโลยี Turbo Boost และ Hyper Threading เป็นต้น
CPU Core i7
Core i7 เป็นซีพียูตัวแรกจาก Intel ที่มีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller) เข้าไว้ในตัวซีพียูเลย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทาง AMD ได้นำไปใส่ไว้ในซีพียู Athlon 64 ตั้งแต่เมื่อนานนมมาแล้ว โดยสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้ใน Core i7 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากสถาปัตยกรรม Core ที่ใช้ใน Core 2 Duo และ Core 2 Quad แต่ได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เข้าไปไว้ด้วย Core i7 นั้นมาในรูปแบบ 3 ซ็อกเก็ตด้วยกันได้แก่ LGA1366 (Core i7-9xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Tripple Channel และมีบัสแบบ QPI), LGA1156 (Core i7-8xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Dual Channel, มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาด้วย และใช้บัส DMI) และสุดท้ายคือ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก (มีสเปคแบบเดียวกับ LGA1156)
     แต่เดิมทีนั้นซีพียูจาก Intel จะใช้คัวควบคุมหน่วยความจำภายนอกที่อยู่ภายในชิพ North Bridge (รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Memory Controller Hub หรือ MCH) ซึ่งหมายความว่าซีพียูใดก็ตามที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้ ชิพเซ็ตจะเป็นตัวที่ทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณของหน่วยความจำที่ใช้ได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น แต่ในเมื่อ Core i7 มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้าไปไว้ในตัวซีพียูแล้ว ตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ต) จะเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดว่าท่านสามารถจะใส่หน่วยความจำแบบใดและปริมาณเท่าไรลงไปในเครื่องได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเมนบอร์ดเองก็อาจมีส่วนด้วยเหมือนกันในการกำหนดปริมาณสูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใส่ลงไปได้ ตัวควบคุมหน่วยความจำที่อยู่ใน Core i7 นั้นรองรับแรมเฉพาะแบบ DDR3 เท่านั้น (ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ฉะนั้นแล้วแรมตัวใดก็ตามที่ใช้ไฟมากกว่านี้จะไม่สามารถทำงานร่วมกับซีพียูได้ และอาจสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับตัวซีพียูได้ถ้ายังขืนใช้) ซีพียู Core i7-9xx ซึ่งเป็นแบบซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้แรมแบบ Tripple Channel ที่ความเร็วบัส 800 และ 1066MHz ในขณะที่ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และซ็อกเก็ต 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับแรมแบบ DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วบัส 800, 1066 และ 1333MHz ครับ
     โดยสถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ DDR3 ที่เป็น Tripple Channel บนซีพียู Core i7-9xx นั้นจะอนุญาตให้ซีพียูเข้าถึงแรมทั้งสามตัวที่ติดตั้งอยู่ได้พร้อมๆ กันเพื่อทำการเขียนหรือเก็บข้อมูลบนแรมชุดดังกล่าว ซึ่งความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ได้ต่อช่วงหนึ่งลูกคลื่นสัญญาณนาฬิกาที่มีหน่วยวัดเป็นบิท (bit) นั้นจะเพิ่มขึ้นจาก 128 (ในแรมแบบ Dual Channel) ไปเป็น 192 โดยในทางทฤษฎีแล้วแรมแบบ Tripple Channel จะมีแบนวิธเพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% เมื่อเทียบกับแรมแบบ Dual Channel ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของแรมที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น แรม DDR3 ที่ความเร็ว 1066MHz นั้นจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 17GB/s ในขณะที่ถ้าติดตั้งเป็นแบบ Tripple Channel แล้วจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 25.5GB/s เป็นต้น
     Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA1366 นั้นจะติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนที่เหลือโดยใช้บัสแบบใหม่ที่เรียกว่า QPI (Quickpath Interconnect) โดยบัสตัวนี้ทำงานที่ความเร็ว 2.4GHz (4.8GB/s) บน Core i7 ธรรมดา และ 3.2GHz (6.4GB/s) บน Core i7 Extreme สำหรับซีพียู Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และ 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาให้ไว้ด้วย หน้าที่หลักของมันนั้นคือทำให้กราฟฟิกการ์ดสามารถติดต่อสื่อสารกับซีพียูได้โดยตรงนั่นเอง ซึ่งในทางทฤษฏีสามารถเพิ่มปริมาณแบนวิธการรับส่งข้อมูลได้ นอกจากนั้น ตัวซีพียู Core i7-8xx ดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงกราฟฟิกการ์ดตัวเดียวที่ความเร็ว x16 ในขณะที่ถ้าต่อการ์ดเชื่อมกันสองใบอัตราการเข้าถึงข้อมูลจะลดลงมาที่ x8/x8 และเนื่องจากการที่โมเดลซีพียูเหล่านี้มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ในตัวซีพียูแล้ว ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้บัสที่มีการลดความเร็วลงที่เรียกว่า DMI (Digital Media Interface) ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 2GB/s ในการเชื่อมตัวซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต (แทนที่จะเป็น QPI ที่ใช้บนซีพียู Core i7-9xx บนซ็อกเก็ต LGA1366) อย่างไรก็ตามแบนวิธการรับส่งข้อมูลที่น้อยกว่านั้นไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เนื่องด้วยการที่ QPI มีแบนวิธมากกว่านั้นเป็นเพราะว่าตัวซีพียูต้องทำการสื่อสารกับตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่บนชิพ North Bridge นั่นเอง แต่เนื่องจากซีพียู Core i7 ที่เป็นซ็อกเก็ต 1156 และ 988 นั้นได้มีการรวมตัวควบคุม PCI Express 2.0 เอาไว้บนตัวซีพียูแล้ว จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งแบนวิธที่สูงมากแต่อย่างใดในการทำงานครับ
     ความเหมือนที่สถาปัตยกรรม Core i7 มีเหมือนกับของทาง AMD นั่นคือซีพียูทุกตัวในตระกูลนี้มีส่วนที่เรียกว่า base clock นั่นเอง ซึ่งจะอยู่ที่ 133MHz ในซีพียูทุกๆ ตัว
     นอกจากนั้น Core i7 ทุกตัวจะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Turbo Boost ซึ่งก็คือฟังชั่นการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังถูกใช้งานอยู่โดยอัตโนมัตินั่นเอง
     คุณสมบัติอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ Core i7 นั่นก็คือเทคโนโลยี Hyper Threading ซึ่งจะทำการจำลองแกนซีพียูเพิ่มขึ้นมา 2 ตัวสำหรับทุกๆ แกนการประมวลผล ยกตัวอย่างเช่น Core i7-920 มีจำนวนแกนจริงๆ ทั้งหมด 4 แกน แต่เมื่อรวมคุณสมบัติ Hyper Threading ไปด้วยแล้วระบบปฏิบัติการจะเห็นแกนซีพียูเป็นทั้งหมด 8 แกนจำลอง (เรียกอีกอย่างว่า Thread) เป็นต้น
     Core i7 Extreme นั้นเป็นซีพียูที่แรงและแพงที่สุดของ Core i7 ทั้งหมดแล้ว โดยรุ่นสูงสุดในปัจจุบันนั้นคือ Core i7-980X Extreme Edition ซึ่งมี 6 แกน/12เธรด ซึ่งใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร โดยความต่างของตัว Extreme Edition นั้นจะอยู่ที่ตัวซีพียูได้รับการปลดล็อคตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นยังมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่มากกว่ารุ่นอื่นๆ รวมทั้งมีการใช้บัส QPI
Core i3, i5 และ  i7 นี้มีความแตกต่างกันอย่างไร
1. ระบบ Hyper-Threading สิ่งที่่ CPU ตระกูลนี้นำกลับเข้ามาใช้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ระบบ Hyper-Threading (ระบบการจำลองชุดคำสั่งแบบคู่ขนาน) ซึ่ง intel เคยนำมาใช้ตอน Pentium 4 โดย
i7 จะมี 4 คอร์ 8 เธรด
i5 จะมี 4 คอร์ 4 เธรด และ 2 คอร์ 4 เธรด
i3 จะมี 2 คอร์ 4 เธรด
2. Cache L3 ระบบ Cache L3 เป็นระบบที่ทำ AMD นำมาใช้ก่อนในซีพียูรุ่นก่อนแล้ว ซึ่ง intel เพิ่งจะนำเข้ามาใช้กับซีพียูตระกูลนี้ั
i7  จะมี Cache L3   8 MB
i5  จะมี Cache L3   8 MB และ 4 MB
i3  จะมี Cache L3   4 MB
3. ราคา ซึ่งทาง intel ได้วางตำแหน่งของซีพียูตระกูลนี้ไว้ 3 ระดับด้วยกัน
i7 เป็นซีพียูในระดับสูง ราคาจะอยู่ในช่วง  10,000   บาท ขึ้นไป
i5 เป็นซีพียูใน ระดับกลาง ราคาจะอยู่ในช่วง  6,0007,000   บาท
i3 เป็นซีพียูใน ระดับพื้นฐาน ราคาจะอยู่ในช่วง  4,0005,000  บาท